การประเมินหน้างาน
“ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อไปก็ผิดหมด” ประโยคนี้ช่างเหมาะสมกับหัวข้อที่เราจะพูดถึงในวันนี้กันมากที่เดียว นั่นคือ “การประเมินหน้างาน”
สำหรับใครหลายๆ คนที่กำลังจะวางระบบน้ำ หรือวางไปแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต้องการปรับปรุงแก้ไข หรือต้องการที่จะพัฒนาระบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น อยากจะบอกว่าคุณโชคดีมากที่ได้เจอบทความนี้ของเรา วันนี้เราจะมาแชร์หัวข้อ การประเมินหน้างานให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้องกันค่ะ
ก่อนอื่นเลย มีหลายๆคำถามที่ถามกันซ้ำๆ มาเกี่ยวกับการวางระบบน้ำ เช่น
-ราคาเท่าไหร่
-คิดเหมารวม หรือคิดต่อไร่
-แบ่งโซน......โซนได้หรือไม่
-ต้องการใช้แผงโซล่าเซลล์ ต้องใช้กี่แผง
-ปั้มขนาดกี่แรง ท่อขนาดเท่าไหร่
-อยากสั่งงานผ่านมือถือได้หรือไม่
-ไม่มี WiFi แต่อยากสั่งผ่านมือถือต้องทำอย่างไร
-เคยวางระบบน้ำ น้ำไหลไม่ดีต้องแก้ตรงจุดไหน
-ควรวางระบบแบบไหนดีน้ำจะได้แรงๆ
ยังมีมากมายหลายๆ คำถามที่ไม่สามารถรวมรวมมาได้ทั้งหมด เอาเป็นว่าขอให้คุณๆ ทั้งหลายวางคำถามเหล่านั้นไว้ในใจก่อน บทความนี้จะทำให้คุณๆ กระจ่างในคำตอบ และที่มาที่ไปของระบบกันค่ะ
เริ่มต้นเลย เรามาทำความเข้าใจเรื่อง “การวางระบบน้ำ” กันก่อนนะคะ เอาที่แบบเข้าใจง่ายๆเลย
“การวางระบบน้ำ คือ การนำน้ำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบ เช่น ใช้ในงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรืองานอื่นๆ ตามที่ต้องการ” ความหมายโดยรวมแบบตรงๆ สั้นแบบนี้เลยค่ะ ซึ่งระบบบริหารจัดการน้ำในปัจุบันนี้จะมีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ทำงานร่วมกันด้วย เช่น ควบคุมและสั่งงานผ่านการเปิด-ปิดเองหน้าตู้ ตั้งเวลาให้ทำงานตามเวลาที่ต้องการ สั่งผ่านมือถือ หรือจะรวมทั้ง 2-3 เงื่อนไขไว้ในระบบเดียวกันก็ย่อมได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก ทีนี้การวางระบบน้ำ เกี่ยวข้องกับการประเมินหน้างานยังไง? ทำไมการประเมินหน้างานถึงสำคัญ?
ถ้าสมมุติการจำลองเหตุการณ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้นค่ะ
ผู้ซื้อ : ต้องการทราบราคาการวางระบบน้ำจำนวน ........ไร่ ราคาเท่าไหร่?
ผู้ขาย1 : ราคา ..........บาท/ไร่ (รวมค่าอุปกรณ์หรือไม่รวมก็แล้วแต่ตกลง)
ผู้ขาย2 : ยังตอบไม่ได้ทันที ต้องประเมินหน้างานก่อน เพราะความยาก-ง่าย ต่างกัน ผลมีต่อราคาทั้งสิ้น
ซึ่งผู้ซื้อจะเลือกผู้ขายที่1 หรือผู้ขายที่ 2 ก็ไม่มีข้อไหนผิดหรือข้อไหนถูก แต่เราต้องตั้งข้อสังเกตและพิจารณาในทางเลือกที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดเท่านั้นเอง ดังนั้นเรามาพิจารณารายละเอียดคร่าวๆพร้อมกันเลยค่ะ
ผู้ขายที่ 1 ตั้งราคาไว้กว้างๆ ให้ครอบคลุมกับทุกๆ ลักษณะงาน ที่ต้องทำ
oข้อดีคือ ทราบเรทราคาสำหรับเปรียบเทียบได้เลย แจ้งลูกค้าได้ทันที สะดวก รวดเร็ว
oข้อเสียคือ ราคาอาจจะไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เป็นไปได้ที่ราคาสูงหรือต่ำเกินไป ไม่สมดุลกับทั้งสองฝ่าย บางครั้งอาจจะมีค่าใช้จ่ายแฝงหรือมีเพิ่มเติมในบางจุด
ผู้ขายที่ 2 ยังไม่สามารถแจ้งราคาได้ ต้องประเมินหน้างานก่อน ถึงจะทำราคาเสนอให้พิจารณาได้
oข้อดีคือ ทราบเรทราคาที่เหมาะสมกับลักษณะงาน งานยาก/ง่าย รวมไปถึงชนิด เกรดของวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกจะส่งผลต่อราคามากน้อยต่างกัน
oข้อเสียคือยังไม่ทราบราคาในทันที
จากการเปรียบเทียบนี้ คงจะพอให้หลายคนนึกภาพออกแล้วใช่มั๊ยคะว่า ที่มาที่ไปของราคาควรอ้างอิงไปทางไหนถึงจะเหมาะสม ซึ่งตรงนี้ท้ายสุดก็แล้วแต่ความชอบความพึงพอใจของลูกค้าที่จะเลือกนั่นเองค่ะ ตรงนี้เองจึงเป็นจุดเชื่องโยงเข้าหาหัวข้อ "ประเมินหน้างาน" ซึ่งการเข้าประเมินหน้างานที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำระบบน้ำมาให้ครบถ้วน หลักๆ ที่นำมาประเมินเพื่อนำไปคิดค่าใช้จ่ายประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ค่ะ
1.ชนิดของพืช/ปริมาณน้ำที่พืชต้องการ
2.จำนวนต้นไม้ทั้งหมดที่จะปลูก
ข้อ1,2 นี้เจ้าของพื้นที่ควรทราบหรือศึกษาหาข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะเป็นตัวตั้งต้นว่าระบบน้ำที่ต้องการควรมีปริมาณน้ำที่นำมาใช้แต่ละครั้งมากน้อยเพียงใด ควรสำรองเหลือไว้ในที่กักเก็บปริมาณเท่าใด
3.แหล่งน้ำ/ระยะทางในการส่งน้ำ
แหล่งน้ำมีมากมายหลายชนิด เช่น สระน้ำ น้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำจากแท็งค์ น้ำประปา หรือจากแหล่งอื่นๆ ตรงนี้มีผลต่อการเลือกใช้ระบบดูดให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงระยะในการส่งขึ้นไปใช้งาน บางแหล่งน้ำมีความชันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น น้ำบาดาล น้ำจากคลอง จากบ่อ บางครั้งต้องส่งขึ้นมาเป็นระยะทางพอสมควร ตรงนี้มีผลต่อการเลือกชนิด ประเภท ขนาด ของปั้มที่ส่งน้ำขึ้น
4.แหล่งพลังงาน
พลังงานจะมีหลากหลายประเภท เช่นไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ จากเครื่องปั่นไฟ จากแบตเตอรี่ ข้อมูลตรงนี้จะมีผลต่อการเลือกระบบตู้อัตโนมัติ ชนิดประเภทปั้มน้ำ
5.ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความกว้าง ความยาว ความชัน
รายละเอียดตรงนี้มีผลต่อระยะการส่งน้ำ ขนาดปั้ม ชนิด/ขนาดท่อ หากพื้นที่มีความชันจำเป็นต้องมีการวัดระยะความชัน
6.อื่นๆ
-สัญญาน Internet ในพื้นที่ กรณีต้องการควบคุมและสั่งงานผ่านมือถือพื้นที่ต้องมีคลื่นสัญญาน
เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว ต้องเอาข้อมูลไปประมวลผล ในการเลือกวัสดุอุปกรณ์ ขนาดปั้ม ขนาดท่อ และที่สำคัญที่สุดในการวางระบบน้ำให้สำเร็จคือ “แรงดันในระบบ” ระบบที่ดีควรคำนวนแรงดันในระบบดูความเป็นไปได้ว่าถ้าวางไปแล้วระบบจะสมบูรณ์ปริมาณน้ำเพียงพอค่ะ ดังนั้นเมื่อแรงดันในระบบได้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะถูกเลือกใช้ตามสเปค รวมไปถึงการเลือกระบบการควบคุม ว่าพื้นที่เหมาะสมแบบไหนตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทำให้สามารถออกแบบระบบโดยรวม การแบ่งโซนต่างๆ ก็ทำได้บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้ประมวลผลไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ลำดับต่อไปก็จะคำนวนราคาได้อย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปพอเหมาะพอดี คำถามทุกคำถามก่อนหน้านี้ ก็จะมีคำตอบในตัวมันเอง ทั้งนี้ก็จะ Win Win ทั้งสองฝ่าย
นี่คือที่มาที่ไปและวัตถุประสงค์หลักของการประเมินหน้างาน ดั่งเช่นคำเปรียบเปรยของการติดกระดุมเม็ดแรก และเม็ดต่อๆ ไปค่ะ
“ทุกสินค้าและการบริการ เราให้คำแนะนำปรึกษาตลอดการใช้งาน”
วินิตชัย